คำ คือ กลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระและเสียงวรรณยุกต์ จะมีกี่พยางค์ก็ได้ เช่น น้ำ ภูเขา โรงเรียน สมุด หนังสือ สะอาด โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ
สำหรับชนิดของคำในภาษาไทย ก็มีทั้งหมด 8 ชนิดนะคะ ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธานและคำอุทาน โดยคำแต่ละชนิด แบ่งแยกย่อยได้อีกหลายชนิด ดังต่อไปนี้
1.คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต วัตถุ สถานที่ คุณสมบัติ สถานะ หรือแนวคิด ฯลฯ แบ่งออกได้ ๕ ชนิด ได้แก่
โดยทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง เช่น คน มนุษย์ หมา แมว ผลไม้ มะม่วง เงาะ ต้นไม้ หนังสือ ปากกา โต๊ะ เก้าอี้ พ่อแม่ โน้ตบุ๊ก เป็นต้น
กำนันสุพจน์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระพุทธชินราช รร.สตรีวัดระฆัง รพ.พัทลุง น้องแอลลี่ พระอภัยมณี เป็นต้น
บริษัท พวกกรรมกร กองคาราวาน หมู่ลูกเสือ เหล่าทหาร เป็นต้น
คำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า “การ”หรือ “ความ” นำหน้า เราเรียกคำเหล่านี้ว่าอาการนาม เช่น ความรัก ความเกลียด ความโลภ ความเป็นไป ความดี ความเลว ความชั่ว การกิน การเดิน การพูด การเรียน การทำงาน การสื่อสาร ฯลฯ ถ้าคำว่า การ หรือ ความ นำหน้าคำนามจะไม่เรียกว่าอาการนามนะคะ เช่น การรถไฟ การไฟฟ้า การประปา (แบบนี้จะเป็นคำนามเฉพาะค่ะ)
2.คําสรรพนาม เป็นคำที่ใช้เรียกแทน คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เพื่อที่เราจะไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่น
บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง เช่น
ตัวอย่างประโยค
ประพันธสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ทำหน้าที่แทนนามข้างหน้า และใช้เชื่อมประโยค ได้แก่คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน เช่น
วิภาคสรรพนาม คือ สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ที่ใช้แยกออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
นิยมสรรพนาม (นิ-ยะ-มะ-สับ-พะ-นาม) เป็นคำสรรพนามที่ใช้เพื่อชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่ คำว่า นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น
อนิยมสรรพนาม(อะ-นิ-ยะ-มะ-สับ-พะ-นาม)เป็นสรรพนามใช้แทนนามที่ไม่ชี้เฉพาะ ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด ใคร ๆ อะไร ๆ ไหน ๆ ใด ๆ เช่น
ปฤจฉาสรรพนาม เป็นสรรพนามใช้ถาม เช่น ใคร อะไร ผู้ใด ไหน เช่น
3.คำกริยา คือ คำที่ทำหน้าที่แสดงกิริยาอาการหรือการกระทำ แบ่งออกได้ ๕ ชนิด คือ
อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เข้าใจได้ เช่น
สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เช่น
วิกตรรถกริยา หรือคำกริยาเติมเต็ม คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ เช่น คือ คล้าย เป็น เหมือน เท่า
กริยานุเคราะห์ หรือกริยาช่วย คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยค ให้มีความหมายชัดเจนขึ้น ได้แก่คำว่า จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ ฯลฯ เช่น
กริยาสภาวมาลา คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายคำนาม จะเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
4.คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์เอง เพื่อให้ได้ใจความสมบูรณ์ขึ้น คำวิเศษณ์มักจะอยู่หลังคำที่นำมาขยาย เช่น
5.คำบุพบท คือ คำที่ทำหน้าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำ ข้อความหรือประโยค เพื่อให้ความต่อเนื่องกันและช่วยให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น ชนิดของคำบุพบทแบ่งได้เป็น ๔ ชนิด คือ
6.คำสันธาน เป็นคำที่ทำหน้าที่เชื่อมประโยค หรือข้อความกับข้อความในประโยคความรวม เพื่อทำให้ประโยคมีใจความต่างกัน เช่น คล้อยตาม ขัดแย้ง ให้เลือก หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น คำว่า และ แล้ว จึง แต่ หรือ เพราะ เหตุเพราะ ดังนั้น เช่น
7.คำอุทาน เป็นคำที่ผู้พูดเปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ
โดยจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์(!)ตามหลัง เช่น อุ๊ย!มานานแล้วหรือคะ โอ๊ย!โดนอะไรตำเท้า ว้าย! ผีหลอก
คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
ทราบชนิดของคำกันแล้ว คราวนี้เราจะมาดูหน้าที่ของคำในภาษาไทย กันค่ะ
เมื่อพูดถึงคำว่า หน้าที่ของคำ ให้น้อง ๆ นึกถึง 3 คำนี้ไว้นะคะ คือ ประธาน กริยา กรรม ค่ะ
ประธาน ก็คือ ผู้กระทำ
กริยา ก็คือ กิริยาอาการที่แสดงออกไป
กรรม ก็คือ ผู้ที่ถูกกระทำ
โดยปกติแล้ว คำใดก็ตาม หากมันวางอยู่คำเดียวโดดเดี่ยว ไม่ได้ถูกแวดล้อมด้วยคำอื่น ๆ เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่าคำนั้นทำหน้าที่อะไรในประโยค จนกว่ามันจะถูกนำมาเรียงเป็นประโยคที่สมบูรณ์ถึงจะรู้ว่าคำ ๆนั้นทำหน้าที่อะไร ดูตัวอย่างในประโยคต่อไปนี้ค่ะ
ด.ญ.ส้มโอชอบเล่นเกม
ด.ญ.ส้มโอ เป็นคำนาม วางอยู่หน้าประโยค เป็นผู้ถูกกระทำ คำว่า ด.ญ.ส้มโอ จึงทำหน้าที่เป็น ประธานในประโยค
ชอบเล่น เป็นคำกริยา วางอยู่หลังประธาน เป็นกิริยาอาการหรือสิ่งที่แสดงออกไป คำว่า
ชอบเล่น จึงทำหน้าที่เป็นกริยาในประโยค
เกม เป็นคำนาม วางอยู่หลังคำกริยา เป็นสิ่งที่ถูกกระทำ คำว่าเกม จึงทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค
ตำรวจจับผู้ร้ายได้
ตำรวจ เป็นคำนาม วางอยู่หน้าประโยค เป็นผู้กระทำ คำว่า ตำรวจ จึงทำหน้าที่เป็น ประธานในประโยค
จับ เป็นคำกริยา วางอยู่หลังประธาน เป็นกิริยาอาการหรือสิ่งที่แสดงออกไป คำว่า จับ จึงทำหน้าที่เป็นกริยาในประโยค
ผู้ร้าย เป็นคำนาม วางอยู่หลังกริยา เป็นสิ่งที่ถูกกระทำ คำว่าผู้ร้าย จึงทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค
ได้ เป็นคำวิเศษณ์ วางอยู่ท้ายประโยค เป็นคำที่ช่วยขยายกริยา คือ จับ คำว่า ได้ จึงทำหน้าที่เป็นคำขายกริยา (จับได้)
สมศรีเป็นแม่ค้าส้มตำ
สมศรี เป็นคำนาม วางอยู่หน้าประโยค เป็นผู้กระทำ คำว่า สมศรี จึงทำหน้าที่เป็น ประธานในประโยค
เป็น เป็นวิกตรรถกริยา หรือคำกริยาเติมเต็ม วางอยู่หลังประธาน เป็นกริยาที่ต้องมีส่วนเติมเต็มมารับ เป็น จึงทำหน้าที่เป็นกริยาที่มีส่วนเติมเต็ม
แม่ค้า เป็นคำนาม วางอยู่หลังกริยา เป็นสิ่งที่ถูกกระทำ คำว่า แม่ค้า จึงทำหน้าที่เป็นกรรม
ส้มตำ เป็นคำนาม วางอยู่หลังกรรม คำว่า แม่ค้า จึงทำหน้าที่ขยายกรรมในประโยค(แม่ค้าส้มตำ)
กระเป๋าเงินของฉันวางอยู่บนโต๊ะ
กระเป๋าเงิน เป็นคำนาม ทำหน้าที่เป็น ประธาน
ของ เป็นคำบุพบททำหน้าที่เป็น คำเชื่อม บอกความเป็นเจ้าของ
ฉัน เป็นคำสรรพนามทำหน้าที่เป็น ส่วนขยายประธาน (กระเป๋าของฉัน)
วางอยู่ เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นกริยา
บน เป็นคำบุพบท ทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมบอกสถานที่ (บนโต๊ะ)
โต๊ะ เป็นคำนาม วางอยู่หลังคำบุพบท คำว่า โต๊ะ จึงทำหน้าที่ขยายกริยา (วางอยู่บนโต๊ะ)
ทั้งพ่อและแม่ของผมมีอาชีพรับราชการ
พ่อ แม่ เป็นคำนาม ทำหน้าที่ ประธาน
ทั้ง...และ เป็นคำสันธาน ทำหน้าที่เชื่อมประโยคในประโยคความรวม
ของ คำบุพบท ทำหน้าที่เชื่อมคำบอกความเป็นเจ้าของ (ของผม)
ผม เป็นคำสรรพนาม ทำหน้าที่ขยายประธาน (พ่อแม่ของผม)
มี เป็นคำกริยาทำหน้าที่เป็นกริยา
อาชีพ เป็นคำนาม ทำหน้าที่เป็นกรรม
รับราชการ เป็นคำนาม ทำหน้าที่ขยายกรรม (อาชีพรับราชการ)
เป็นไงบ้างคะน้อง ๆ พอจะเข้าใจชนิดและหน้าที่ของคำในภาษาไทยขึ้นมาบ้างไหม ก่อนลาจากกันวันนี้ พี่ขอบอกว่า การเรียนรู้และเข้าใจเรื่องชนิดและ หน้าที่ของคำในภาษาไทย จะช่วยให้น้อง ๆสามารถนำคำไปใช้ได้อย่างถูกต้องทั้งการพูดและการเขียน ซึ่งตรงนี้นอกจากจะช่วยให้น้อง ๆสามารถสื่อสารได้ตรงตามความต้องการแล้ว การใช้คำได้ถูกต้อง ยังเป็นหน้าที่ที่สำคัญของคนไทยทุกคน เพราะนี่คือการรักษาวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษาไทยของเราให้คงอยู่ต่อไปก่อนที่ภาษาของเราจะต้องสูญพันธุ์ไปเหมือนกับอีกหลาย ๆภาษาในโลกใบนี้ค่ะ
ที่มาข้อมูล